วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ดาวพลูโต (Pluto)

                          ดาวพลูโต(Pluto)




 


ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด
และเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุดอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4.8 พันล้านกิโลเมตร
ในบริเวณใจกลางของแถบไคเปอร์
ซึ่งเป็นดงของวัตถุเนื้อน้ำแข็งปนหินที่อยู่พ้นวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป
ในปี พ.ศ. 2521 นักดาราศาสตร์ค้นพบบริวารของดาวพลูโตหนึ่งดวง ชื่อ คารอน





ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,300 กิโลเมตร ส่วนชารอนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,180 กิโลเมตร นับว่าเป็นดาวเคราะห์ และบริวารที่มีขนาดใกล้เคียงกันที่สุด ในระบบสุริยะ ดังนั้นปัจจุบันจึงมักจัด พลูโตและชารอน เป็นดาวคู่ (Double Planet) หลายๆคนคงเคยแปลกใจ เมื่อพบว่าดวงจันทร์ของโลกเรา หันด้านเดิมเข้าหาโลกของเราเสมอ ชารอนก็เช่นกัน จะโคจรรอบพลูโต โดยหันด้านเดิมเข้าหาดาวพลูโตเสมอ โดยโคจรครบรอบใช้เวลา 6.4 วัน

ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: 7,375,927,931 กม.(49.30503287 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 4,436,824,613 กม.(29.65834067 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก: 5,906,376,272 กม.(39.48168677 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวงของวงโคจร: 36.530 เทระเมตร(244.186 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.24880766
คาบดาราคติ: 90,613.3058 วัน(248.09 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก: 366.74 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร: 4.666 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร: 6.112 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร: 3.676 กม./วินาที
ความเอียง: 17.14175°(11.88° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: 110.30347°
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 113.76329°

และยิ่งไปกว่านั้นดาวพลูโตยังหันด้านเดิมเข้าหาชารอนอีกด้วย (Synchronized Orbit) จึงคล้ายๆกับว่า ดาวทั้งสองเคลื่อนที่ไปด้วยกัน โดยหันตำแหน่งเดิมเข้าหากันตลอด  ดาวพลูโตประกอบด้วยหินและน้ำแข็ง(70%rock and 30%ice) จาการศึกษา spectrum ของแสงจากดาวพลูโต พบว่า ส่วนที่สะท้อนแสงปกคลุมไปด้วย ไนโตรเจน มีเธน อีเธน และคาร์บอนมอนอกไซด์ (พบว่าทั้ง 4 อยู่ในสถานะของแข็ง) การที่มีเธนกลายเป็นของแข็งได้ แสดงว่าอุณหภูมิต้องต่ำกว่า 70K เลยทีเดียว
เมื่อบันทึกภาพดาวพลูโตขณะกำลังเคลื่อนผ่านดาวฤกษ์ จะพบลักษณะของบรรยากาศบางๆ หุ้มรอบดาวพลูโตอยู่ น่าแปลกมากที่ ดาวมวลน้อยเพียงแค่นี้ยังมีบรรยากาศ(atmosphere) (ปัจจุบันเรารู้เรื่องของ บรรยากาศบนดาวพลูโตน้อยมาก)




 ดาวพลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ ครบรอบใช้เวลาประมาณ 249 ปี
วงโคจรของดาวพลูโตเป็นวงรีค่อนข้างมาก (เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ของระบบสุริยะ) และบางช่วงเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ มากกว่าดาวเนปจูนเสียอีก ดูเผินๆจะคล้ายกับว่า วงโคจรของดาวพลูโต ตัดกับวงโคจรของดาวเนปจูน แต่วงโคจรของดาวพลูโตนั้นจะเอียงเล็กน้อย (~17องศา เมื่อเทียบกับระนาบวงโคจร ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะ)
นอกจากนี้วงโคจรของเนปจูนและพลูโตยังประสานกันพอดี คือเมื่อเนปจูนโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 3 รอบ พลูโตก็จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 2 รอบพอดี (3:2 resonance) โอกาสที่ดาวทั้งสองจะชนกัน จึงมีน้อยมาก ดาวพลูโตจะเข้าใกล้เนปจูน มากที่สุดก็ประมาณ 18 A.U.

 ลักษณะทางกายภาพของ ดาวพลูโต

 

เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย: 2,390 กม.(0.180×โลก)
พื้นที่ผิว: 1.795×107 กม.²(0.033×โลก)
ปริมาตร: 7.15×109 กม.³(0.0066×โลก)
มวล: 1.25×1022กก.(0.0021×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 1.750 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: 0.58 เมตร/วินาที²(0.059 จี)
ความเร็วหลุดพ้น: 1.2 กม./วินาที
คาบการหมุนรอบตัวเอง: −6.387 วัน(6 ชม. 9 นาที 17.6 วินาที)
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: 47.18 กม./ชม.
ความเอียงของแกน: 119.61°
ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ: 313.02°(20 ชม. 52 นาที 5 วินาที)
เดคลิเนชันของขั้วเหนือ: 9.09°
อัตราส่วนสะท้อน: 0.30

บรรยากาศของดาวพลูโต
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: 0.15-0.30 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ: ไนโตรเจน และ มีเทน




 ภาพรวม เรื่องดาวพูลโต
ความเป็นจริงของประเภทดาวพลูโตการท่องระบบสุริยะจบลงที่ ซึ่งเดิมที่ต้องจบลงที่ดาวพลูโตซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์
ดวงสุดท้ายในทั้งหมด 9 ดวง และเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มาก
ที่สุด หากยืนอยู่บนดาวพลูโต แล้วมองเข้ามาหาจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ
จะเห็นดวงอาทิตย์เล็กนิดเดียว คล้ายกับที่เรามองเห็นดาวเป็นจุดเล็กๆในท้องฟ้า
โดยแท้จริงนั้น ดาวพลูโต มีข้อแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นอย่างมาก ด้วยมีขนาดเล็กมีวงโคจรแบบ Eccentric (เยื้องศูนย์กลาง หรือคล้ายลูกเบี้ยว) รวมทั้งมีความ
เอียงเทลาด (Inclined) มากถึง 17 องศา ส่วนองค์ประกอบของดาวพลูโต เป็นหินและน้ำแข็ง มีความต่างจากดาวเคราะห์
ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เพราะเมื่อตรวจสอบแล้วปรากฎว่าเป็น ลักษณะแบบ
เดียวกับ ดาวหาง (Comets) นั้นเป็นข้อมูลการโต้แย้งกันเมื่อค.ศ.1990บัดนี้ดาวพลูโตถูกกำหนดประเภทให้ใหม่ เป็นดาวเคราะห์แคระ (Dwarf planet)
เมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2006 หลังจากเป็นประเภทดาวเคราะห์ (Planet) 75 ปี
ยังได้กำหนดให้ดาวพลูโต เป็นวัตถุต้นแบบ ของกลุ่มวัตถุที่เรียกว่า Plutoid โดย
เป็นกลุ่มย่อยของดาวเคราะห์แคระ ใช้เรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลกว่าวงโคจร
ของดาวเนปจูนดังนั้นการจัดประเภทใหม่มิได้เป็นเรื่องที่น่าวิตกตราบใดที่ดาวพลูโตก็ยังเป็น
ดาวพูลโตอยู่อย่างเดิมอนาคตหากมีการสำรวจระยะใกล้ชิด ในแต่ละชนิดของ
วัตถุระบบสุริยะไม่แน่นักอาจมีการจัดประเภทใหม่เพิ่มเติมขึ้นอีกเป็นได้






 


 


 ดาวพลูโต กำเนิดจากดาวหาง ?
ขนาดดาวพลูโต เล็กเท่ากับ 2 ใน 3 ของดวงจันทร์ (โลก) มีหินเป็นแกนในถูกห่อ
หุ้ม ไปด้วย Nitrogen, Methane ของน้ำและน้ำแข็ง มีความหนาแน่นต่ำ ปริมาตร
มวลของ ดาวพลูโตเท่ากับ1 ใน 6 ดวงจันทร์ (โลก) หากมองพื้นผิวจะเห็นความใสของชั้นน้ำแข็งแห้ง ผสมรวมกับ Carbon monoxide
เมื่อถึงช่วงโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ น้ำแข็งจะละลาย ท่วมเป็นชั้นบางๆบนพื้นผิว
แบบชั่วคราว บนดาวพลูโตมีความกดดันเพียง 1 ใน 1,000,000 เมื่อเทียบกับชั้นบรรยากาศโลก
ซึ่งถ้าเอาสิ่งของจากโลก ไปวางตั้งบนดาวพลูโต จะลอยเคว้งขว้างไปทั่วเหตุจาก
แรงดึงดูด น้อย ราว 6% เมื่อเทียบกับโลก จึงเป็น ต้นเหตุทำให้มีชั้นบรรยายกาศ
แผ่ปกคลุมในระดับสูงมาก และการที่มีวงโคจรเป็นรูปไข่ (Elliptical) เมื่อถึงช่วง
ห่างไกลดวงอาทิตย์ ทำให้หนาวเย็นจัด บางครั้งชั้นบรรยายกาศเกิดน้ำแข็งขึ้นได้ ด้วยมีขนาดเล็ก และอยู่ไกลอย่างมาก บริเวณที่เรียกว่า Kuiper Beltอาจเรียกว่า
เป็นบริเวณ พิภพน้ำแข็ง ดังนั้นเชื่อว่าดาวพลูโต คือ 1 ใน 100 ของดาวหางขนาด
ใหญ่ (Large comets) ที่เป็นลักษณะ Iceballs (ลูกบอลน้ำแข็ง) เหมือนก้อน
น้ำแข็ง ซึ่งไม่มีหาง


 


 

 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ข้อมูลดาวพลูโตนั้นมีน้อย ในราวกลาง ค.ศ.2015 เมื่อยาน
สำรวจ New Horizons เดินทางไปถึง คงจะสามารถรายงานข้อมูลของดาวพลูโต
และวัตถุต่างๆ ในบริเวณพิภพน้ำแข็ง และสุดขอบระบบสุริยะ กลับมาให้ทราบ
ดวงจันทร์น้ำแข็ง ของดาวพูลโต
ดาวพลูโตมีดวงจันทร์ 3 ดวงคือ ดวงจันทร์ Charon (134340 I) มีขนาดเล็กมาก
เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1,000 กม. เป็นวัตถุแบบเดียวกับดาวหาง สำหรับอีก 2 ดวง
คือ ดวงจันทร์ Hydra (134340 III) และดวงจันทร์ Nix (134340 II) ทั้งหมดจัดว่าเป็นกลุ่ม วัตถุที่โคจรในเขต Kuiper Belt โดยมีแรงดึงดูดยึดเกี่ยว
ซึ่งกันและกันในจังหวะการโคจร (Synchronous orbit) ดวงจันทร์แต่ละดวงจะ
รักษาตำแหน่ง หันด้านนั้นเข้าหากันตลอดเวลา รวมทั้งหันซีกเดียวกันให้ดาวพลูโต
เป็นลักษณะส่ายไปส่ายมา ดวงจันทร์ Charon นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ในทางทฤษฎีเชื่อว่าดวงจันทร์
Charon กำเนิดจากการชนปะทะทำให้ ส่วนหนึ่งของดาวพูลโตกระเด็นออกมา
เช่นเดียวกับ การกำเนิดดวงจันทร์ (โลก)












 

 สาเหตุที่ดาวพลูโตถูกปลดจากการเป็นดาวเคราะห์
  กรณีที่นักดาราศาสตร์ราว 2,500 คน เข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ( IAU General Assembly) ณ กรุงปราก เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก ระหว่างวันที่ 14-25 สิงหาคม 2549 หนึ่งในหัวข้อประชุมที่เป็นที่สนใจและมีผลกระทบในวงกว้างคือการหาข้อสรุปนิยามคำว่า " ดาวเคราะห์" โดยในวันแรก ๆ ของการประชุม มีการเสนอนิยามที่อาจทำให้ดาวเคราะห์มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 12 ดวง อย่างไรก็ตาม บทสรุปที่ออกมาในวันที่ 24 สิงหาคม กลับทำให้ดาวพลูโตสูญเสียสถานภาพการเป็นดาวเคราะห์ที่ดำเนินมา 76 ปี ขณะนี้ระบบสุริยะของเราจึงมีดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง  ในอดีตกาลนับพันปีล่วงมา เรารู้จักดาวเคราะห์ดั้งเดิมในฐานะดาวที่ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนที่ไปท่ามกลางดาวฤกษ์บนท้องฟ้า เราไม่รู้แม้กระทั่งว่ามันมีขนาดเล็กใหญ่เพียงใด รู้แต่เพียงว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงมีความสว่างต่างกัน สีต่างกัน เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วไม่เท่ากัน เดิมเรารู้จักดาวเคราะห์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าเพียงแค่ 5 ดวง (ไม่นับโลก) คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ แต่ด้วยประสิทธิภาพของกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยมาเป็นลำดับ ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์เพิ่มขึ้น เมื่อมีการส่งยานอวกาศจำนวนมากเดินทางไปสำรวจอย่างใกล้ชิดก็ยิ่งทำให้เราเข้าใจในธรรมชาติของดาวเคราะห์แต่ละดวง
  ไม่เพียงเท่านั้น ประสิทธิภาพของทัศนูปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังนำไปสู่การค้นพบวัตถุอีกหลายดวงที่อยู่ไกลมากเสียจนส่องแสงจางกว่าดวงตามนุษย์จะมองเห็นได้หลายเท่า ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อวัตถุบางดวงในจำนวนนั้นมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าดาวพลูโตซึ่งเป็นวัตถุที่เรารู้จักในฐานะดาวเคราะห์มาตั้งแต่ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1930 แล้วเหตุผลอันใดที่เราจึงไม่เรียกวัตถุเหล่านั้นว่าดาวเคราะห์ด้วย ? หรือว่าดาวพลูโตอาจมีขนาดเล็กเกินกว่าจะเป็นดาวเคราะห์กันแน่ ? นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความท้าทายใหม่ที่นักดาราศาสตร์ในปัจจุบันกำลังประสบ  บรรทัดฐานสำหรับการเรียกสมาชิกของระบบสุริยะว่าดาวเคราะห์หรือไม่ อาจจำแนกตามลักษณะทางกายภาพของวัตถุนั้น เช่น ขนาดหรือความกลมของตัวดวง แต่ปัญหาคือเส้นแบ่งที่ว่านี้อยู่ตรงไหน ? สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหรือไอเอยู เป็นองค์กรนานาชาติที่ทำหน้าที่ประสานงานด้านดาราศาสตร์และกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ทางดาราศาสตร์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2462 มีการประชุมสมัชชาใหญ่ทุก ๆ 3 ปี ประเทศไทยเป็นสมาชิกเฉพาะกาลเมื่อปี 2548 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 ได้อนุมัติให้ไทยเสนอตัวเข้าเป็นสมาชิก และได้รับเสียงสนับสนุนเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2549  กรรมการบริหารของไอเอยูได้เริ่มจัดตั้งคณะกรรมการนิยามดาวเคราะห์ ( Planet Definition Committee -- PDC)
เพื่อพิจารณาปัญหาความคลุมเครือนี้มานานเกือบสองปีแล้ว ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์ นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ ทั้งหมด 7 คน เป็นแกนนำหารือร่วมกับตัวแทนนานาชาติที่กรุงปารีสในปลายเดือนมิถุนายนและต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อกระบวนการหารือในวงกว้างเสร็จสิ้น คณะกรรมการได้บรรลุข้อสรุปและมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในนิยามคำว่า "ดาวเคราะห์" โดยนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในคราวนี้เพื่อให้สมาชิกได้พิจารณา  หลักใหญ่ข้อแรกของข้อเสนอที่คณะกรรมการได้นำเข้าที่ประชุมกำหนดนิยามว่า

" ดาวเคราะห์" คือ วัตถุท้องฟ้าที่มีมวลมากพอที่แรงโน้มถ่วงจะทำให้มันอยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) โคจรรอบดาวฤกษ์โดยที่ตัวมันเองไม่เป็นทั้งดาวฤกษ์และดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น


สาเหตุที่คณะกรรมการกำหนดนิยามเช่นนี้เนื่องจากต้องการใช้ธรรมชาติในแง่ของความโน้มถ่วงเป็นแกนหลัก จากนิยามนี้แปลความหมายได้ว่าวัตถุนั้นต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์ , โคจรรอบดาวฤกษ์ , และมีรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม

ข้อสอง แยกแยะความต่างกันระหว่างวัตถุอื่นที่เข้าข่ายข้อแรกออกจากดาวเคราะห์ 8 ดวง (ไม่รวมดาวพลูโต) ซึ่งมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบเป็นวงกลมและโคจรอยู่ในระนาบใกล้เคียงกัน อันจะทำให้ซีรีสซึ่งถือเป็น "ดาวเคราะห์น้อย" ในขณะนี้ ถูกยกขึ้นเป็นดาวเคราะห์ด้วย แต่อาจเรียกให้ต่างไปว่าดาวเคราะห์แคระ ( dwarf planet) ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์

ข้อสาม นอกจากกำหนดนิยามดาวเคราะห์แล้ว คณะกรรมการยังได้เสนอร่างมติกำหนดประเภทของวัตถุชนิดใหม่ในระบบสุริยะให้ที่ประชุมพิจารณาใช้อย่างเป็นทางการต่อไปโดยเรียกวัตถุประเภทใหม่นี้ว่าพลูตอน (pluton) มีดาวพลูโตเป็นวัตถุต้นแบบ ใช้กับวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบยาวนานกว่า 200 ปี

 ข้อสี่ กำหนดให้วัตถุอื่นนอกเหนือจากข้อ 1-3 ถูกเรียกว่า " วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ" ( Small Solar System Bodies) โดยยกเลิกศัพท์คำว่าดาวเคราะห์น้อย ( minor planet)  ผลปรากฏว่าการหยั่งเสียงรอบแรก เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอข้างต้นนี้ อันจะทำให้ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์เพิ่มเป็นอย่างน้อย 12 ดวง โดยวัตถุที่เข้ามาใหม่เพื่อชิงตำแหน่งดาวเคราะห์ ได้แก่ ซีรีส คารอน และ 2003 ยูบี 313


 


 ซีรีส ( Ceres) เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ค้นพบเป็นดวงแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 952 กิโลเมตร โคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี


 


 คารอน ( Charon) มีขนาด 1,205 กิโลเมตร เป็นวัตถุที่อยู่ในฐานะทั้งดวงจันทร์บริวารของดาวพลูโตและดาวเคราะห์สหายกับดาวพลูโต แม้ว่าดาวพลูโตจะใหญ่กว่าคารอนแต่นักดาราศาสตร์เรียกระบบพลูโต-คารอนว่าดาวเคราะห์คู่ (double planet) เนื่องจากมันดูเหมือนโคจรรอบกันและกันมากกว่าที่คารอนจะเป็นแค่ดาวบริวาร


 


  2003 ยูบี 313 (2003 UB 313 ) เป็นวัตถุที่เพิ่งค้นพบเมื่อปี 2546 แต่ประกาศการค้นพบอย่างเป็นทางการในปี 2548 มีขนาด 2,300-2,500 กิโลเมตรซึ่งใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าดาวพลูโต

หนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอนี้ในทันทีคือไมค์ บราวน์ ซึ่งอยู่ในทีมผู้ค้นพบ 2003 ยูบี 313 ด้วยข้อเสนอดังกล่าวบราวน์คาดคะเนว่าจะมีวัตถุเข้าข่ายเป็นดาวเคราะห์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 53 ดวง ซึ่งออกจะดูมากเกินกว่าที่คนทั่วไปจะจดจำได้ นอกเหนือจากข้อเสนอในที่ประชุมของไอเอยู บราวน์เห็นว่ามีทางออกอยู่อีก 3 ทาง คือ ลดสถานภาพของดาวพลูโตลงเนื่องจากมันมีขนาดเล็กทำให้มีดาวเคราะห์เหลือ 8 ดวง , คงสภาพดาวเคราะห์ทุกดวงไว้ดังเดิม หรือกำหนดให้เฉพาะวัตถุที่ใหญ่กว่าพลูโตเท่านั้นที่นับเป็นดาวเคราะห์ ซึ่งจะทำให้ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ 10 ดวง

การประชุมในวันต่อ ๆ มาทำให้เกิดข้อเสนอใหม่โดยพุ่งประเด็นไปที่สถานภาพการเป็นดาวเคราะห์ของพลูโต ผลการโหวตในวันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2549 ทำให้ ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ โดยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ ( dwarf planet) เช่นเดียวกับซีรีส

  นิยามดาวเคราะห์ ตามข้อสรุปท้ายสุดแปลความหมายได้ว่า
"ดาวเคราะห์" ในระบบสุริยะหมายถึงวัตถุที่
( 1) โคจรรอบดวงอาทิตย์
( 2) มีมวลมากพอที่ทำให้รูปร่างใกล้เคียงทรงกลม
( 3) ไม่มีวัตถุอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันและลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกันอยู่ใกล้วงโคจร ส่วน
"ดาวเคราะห์แคระ" หมายถึงวัตถุที่
( 1) โคจรรอบดวงอาทิตย์
( 2) มีมวลมากพอที่ทำให้รูปร่างใกล้เคียงทรงกลม
( 3) มีวัตถุอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันและลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกันอยู่ใกล้วงโคจร
(4) ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์

ความเป็นมาของพลูโต - อดีตดาวเคราะห์

  หลังการค้นพบดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน เพอร์ซิวาล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันพบว่าการเคลื่อนที่ของดาวเนปจูนแตกต่างจากค่าที่คำนวณได้ จึงคาดว่ามีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อีกดวงหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป คอยส่งแรงโน้มถ่วงมารบกวนวงโคจรของดาวเนปจูน และได้คำนวณตำแหน่งที่เป็นไปได้เพื่อหาดาวเคราะห์ต้องสงสัยดังกล่าว   การค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะดำเนินอย่างต่อเนื่องที่หอดูดาวโลเวลล์ในแฟลกสตาฟฟ์ แอริโซนา โลเวลล์อุทิศเวลาราวหนึ่งทศวรรษในการค้นหาดาวเคราะห์ลึกลับนี้บนหอดูดาวของเขาจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2459 หลังจากนั้นก็มีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาด 13 นิ้วบนหอดูดาวแห่งนี้โดยมีไคลด์ ทอมบอก์ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นวัยหนุ่มที่รับหน้าที่สานต่อเจตนารมณ์ของโลเวลล์ในช่วงเวลาต่อมา  หลังจากทอมบอก์เข้ารับหน้าที่ไม่ถึงปี เขาก็ค้นพบพลูโตในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 ในภาพถ่ายบริเวณใกล้กับดาวฤกษ์สว่างดวงหนึ่งในกลุ่มดาวคนคู่ ดาวพลูโตมีแสงจางเพียงโชติมาตร 15 จางกว่าดาวฤกษ์ที่จางที่สุดที่ตาคนเราจะมองเห็นได้นับพันเท่า การคำนวณวงโคจรในช่วงเวลาต่อมาพบว่าพลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบในเวลา 248 ปี
แท้จริงการค้นพบพลูโตเป็นเรื่องบังเอิญอย่างยิ่ง เพราะพลูโตมีขนาดและแรงโน้มถ่วงน้อยมาก ไม่เพียงพอที่จะรบกวนวงโคจรของเนปจูนได้ ปัจจุบันเราทราบแล้วว่าการเคลื่อนที่ๆ ผิดปกติของเนปจูนในครั้งนั้นไม่ได้เกิดจากการรบกวนวงโคจรจากดาวเคราะห์อีกดวงแต่อย่างใด แต่เกิดจากข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ดวงนี้ที่ยังมีไม่เพียงพอ  มนุษย์ส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์มาแล้วแทบจะทุกดวง ยกเว้นอยู่เพียงดวงเดียวนั่นคือพลูโต วัตถุขนาดเล็กที่อยู่ไกลแสนไกล ภาพถ่ายที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ไม่ว่าจะเป็นกล้องที่ตั้งอยู่บนพื้นโลกและกล้องโทรทรรศน์ในอวกาศ สามารถส่องเห็นและวัดขนาดของพลูโตได้ว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,300 กิโลเมตร นับว่าเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเสียอีก

  พลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยวงโคจรที่ทำมุมเอียง 17 องศากับระนาบที่โลกและดาวเคราะห์ส่วนใหญ่โคจรรอบดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์แบ่งกลุ่มของดาวเคราะห์ออกเป็นสองกลุ่มตามลักษณะทางกายภาพ คือ ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นดินแข็งแบบโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีใจกลางเป็นหินแต่ห่อหุ้มด้วยแก๊สหนาทึบ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์กลุ่มหลังนี้อยู่ห่างไกลออกไป บรรยากาศส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน แต่ดาวพลูโตมีความผิดแผกแตกต่างจากดาวเคราะห์สองกลุ่มนี้ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาด้วยกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์อื่นๆ ทางดาราศาสตร์แสดงว่า พลูโตมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งและมีเทนในสถานะของแข็งที่ห่อหุ้มอยู่รอบ ๆ ใจกลางที่เป็นหิน นอกจากขนาดที่เล็กแล้วนี่เป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์จำนวนมากต่างตั้งข้อสังเกตและสงสัยเกี่ยวกับสถานภาพที่แท้จริงของพลูโต หลายคนบอกว่าพลูโตควรหลุดจากการเป็นดาวเคราะห์ได้แล้ว

ความจริงข้อสงสัยดังกล่าวไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่มันเริ่มขึ้นและดำเนินมานานกว่าสิบปีแล้ว พ.ศ. 2535 นักดาราศาสตร์ค้นพบวัตถุดวงหนึ่ง ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ด้วยระยะทางเฉลี่ยใกล้เคียงกับพลูโต ซึ่งเป็นวงโคจรที่มีความสัมพันธ์กับดาวเนปจูน คือ เมื่อดาวเนปจูนโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 3 รอบ พลูโตและวัตถุดังกล่าวจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 2 รอบ

 หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการค้นพบวัตถุที่มีวงโคจรเลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไปอีกหลายดวง นักดาราศาสตร์เรียกวัตถุเหล่านั้นว่าวัตถุแถบไคเปอร์ ตามชื่อเจอราร์ด ไคเปอร์ นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์-อเมริกันซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์คนแรก ๆ ที่เสนอทฤษฎีในปี พ.ศ. 2492 ว่ามีแถบของวัตถุขนาดเล็กแบบดาวหางโคจรอยู่รอบนอก กำเนิดขึ้นในช่วงต้นๆ ของระบบสุริยะ และพลูโตก็อาจเป็นหนึ่งในวัตถุในแถบไคเปอร์นี้ก็ได้ นอกจากนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงกดดันในการตัดชื่อพลูโตออกจากรายชื่อดาวเคราะห์ดูจะรุนแรงขึ้นเมื่อไคลด์ ทอมบอก์ ผู้ค้นพบพลูโตเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2540

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น