วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาเซียน ( ASEAN )

http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=192&Itemid=148 ครูสามารถเข้ามาดูเว็บนี้ได้ค่ะ ^^
  -- กำเนิดอาเซียน 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง  5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม  มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ  รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)  นายเอส  ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538)  ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

-- วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
-- โครงสร้างและกลไกการดำเนินงานนโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

-- หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
  1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
  2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

บิลบอร์ดในจาการ์ตาเพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 18
ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งประมุขของรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้
  • ประมุขของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายใน
  • ประมุขของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ประมุขของรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับประมุขของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ประมุขของรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับประมุขของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


-- ธงและสัญลักษณ์ อาเซียน


                                                (Association of Southeast Asian Nations)

                                                                             คำขวัญ

                                             "One Vision, One Identity, One Community"
                                               (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)


-- สัญลักษณ์อาเซียน 
“ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซีย




สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า 
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


-- ประเทศสมาชิก      10 ประเทศ
  1.      บรูไนดารุสซาลาม  
  2.    ราชอาณาจักรกัมพูชา  
  3.   สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 
  4.    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   
  5.    สหพันธรัฐมาเลเซีย 
  6.    สหภาพพม่า    
  7.    สาธารณรัฐฟิลิปปินส์     
  8.    สาธารณรัฐสิงคโปร์
  9.    ประเทศไทย
  10.    สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


-- ธงชาติอาเซียน

ธงชาติลาว



  • สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
  • พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง

ธงชาติบรูไน



  • พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
  • สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน

ธงชาติเมียรม่าร์



  • สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
  • สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
  • ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ

ธงชาติกัมพูชา



  • พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
  • พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

ธงชาติเวียตนาม



ธงชาติสิงคโปร์

  • สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล
  • รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค


ธงชาติมาเลเซีย

  • แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
  • ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
  • พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
  • สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

ธงชาติฟิลิปปินส์




  • พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
  • พื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า
  • รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439
  • ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน

ธงชาติอินโดนีเซีย



  • สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม

ธงชาติไทย




  • ชาติ (สีแดง)
  • ศาสนา (สีขาว)
  • พระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น